กลุ่มวนเกษตรอินทรีย์ PGS เลมอนฟาร์มอุตรดิตถ์(#5301)

ชื่อกลุ่ม : กลุ่มวนเกษตร PGS เลมอนฟาร์มอุตรดิตถ์

มาตรฐานอินทรีย์ : PGS

Location : จ.อุตรดิตถ์

ความเป็นมา เป็นกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่รวมตัวกันโดยได้รับการสนับสนุนจากคณะผู้วิจัยอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Lemon Farm Organic PGS ในปี 2561 โดยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานโดย สสส. และเลมอนฟาร์ม เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้มีความปลอดภัยในรูปแบบการผลิตตามระบบเกษตรอินทรีย์ และอนุรักษ์พันธุ์ลางสาดพื้นบ้าน ซึ่งเป็นพืชอัตลักษณ์ของ จ.อุตรดิตถ์ ให้คงอยู่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าไม้ในระบบป่าวนเกษตรโดยไม่พึ่งพาสารเคมี

สมาชิก :  ปัจจุบันกลุ่มฯ ประกอบด้วยจาก 2 อำเภอ คือ อ.ลับแล และอำเภอเมือง มีสมาชิก 15 ครอบครัว พื้นที่ 392.5 ไร่

  

ผลผลิต :  ทุเรียน ลองกอง ลางสาด

ปัญหาการตัดโค่นไม้ป่าและ ต้นลางสาด เพื่อเปลี่ยนเป็นพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวที่ได้ราคาดี เช่น ทุเรียนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาดินสไลด์และใช้สารเคมีบนที่สูงอย่างหนัก

พ.ศ.2560 การเกษตร คนอยู่กับป่า

เกษตรกรกลุ่มหนึ่งเกิดความหวงแหนต้นลางสาดพืชพื้นถิ่นของจังหวัด ได้พยายามอนุรักษ์ต้นลางสาดพื้นบ้านให้คงอยู่ คู่วัฒนธรรม และช่วยรักษาหน้าดินระบบนิเวศ โดยการทำสวนระบบวนเกษตร ผสมผสานกับป่าให้ธรรมชาติดูแล คนอยู่ได้ สัตว์ป่าอยู่ได้ ป่าไม้อุดมสมบูรณ์

พ.ศ.2561 เข้าร่วม Lemon Farm Organic PGS 

สมาชิกทั้งหมด 20 ราย พื้นที่ทั้งหมด555 ไร่ ผลผลิตหลัก ได้แก่ ลางสาด

พ.ศ.2562 วนเกษตรอินทรีย์

สมาชิกจำนวน 19 ครอบครัว พื้นที่ 448.50 ไร่ เกษตรกรเริ่มเรียนรู้กระบวนการ PGS บางพื้นที่เริ่มปรับเปลี่ยนมาสู่การทำวนเกษตรอินทรีย์

ปัจจุบัน พ.ศ.2562

สมาชิกจำนวน 15 ครอบครัว พื้นที่ 392.5 ไร่ ขยายพื้นที่ในอำเภอน้ำปาด

ชื่อกลุ่ม : เกษตรอินทรีย์ PGS น้ำไผ่

มาตรฐานอินทรีย์ : PGS

Location : น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์

ความเป็นมา : ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่ชายขอบ ติดกับชายแดนลาว ชาวบ้านยากจน ชาวบ้านอยู่กันมา 273 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูกข้าวโพด ที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก จนกลายเป็นพื้นที่ภูเขาหัวโล้น ต่อมาในปี 2548 เกิดปัญหาดินถล่มเสียหาย 3 หมู่บ้าน และเผชิญปัญหาจากนโยบายทวงคืนพื้นที่ทำกินในเขตป่าอุทยานสักใหญ่ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เพราะไม่มีที่ทำกิน

ต้นปี 2561 เลมอนฟาร์มและ NGO ในพื้นที่ จึงได้เข้าไปคุยกับนายอำเภอเพื่อขออนุญาตทำเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีในพื้นที่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ด้วยการสนับสนุนของ สสส. และเงินบริจาคของผู้บริโภคในโครงการ “ลดถุงพลาสติกร่วมสร้างพื้นที่อินทรีย์” ที่ร้านเลมอนฟาร์ม โดยได้เริ่มการอบรมเกษตรอินทรีย์ โดยใช้มาตรฐาน PGS และสนับสนุนต้นกล้าสับปะรดให้กับเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 13,000 ต้น เพราะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกสับปะรด ซึ่งจะสร้างผลผลิตอินทรีย์เป็นรายได้ให้เกษตรกรในต้นปี 2563

สมาชิก กลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ มีสมาชิกทั้งหมด 6 ครอบครัว ทำอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืน บนพื้นที่รวม 48.5 ไร่

เพียงการเริ่มต้นอย่างตั้งใจในการทำเกษตรอินทรีย์ของชาวบ้านภายใต้โครงการฯ ในช่วงไม่ถึง 1 ปี วันนี้มีข่าวที่น่ายินดียิ่งว่าด้วยการทำเกษตรอินทรีย์จริงจัง เกษตรกร 6 ครอบครัวนี้ทางป่าไม้ได้ให้กรมสิทธิ์ทำกินในพื้นที่เดิม จึงมีเกษตรกรรายใหม่ๆ สนใจเข้าร่วมทำเกษตรอินทรีย์

เปรียบเทียบป่าเชิงเดี่ยว และป่าวนเกษตร (สภาพป่าช่วงฤดูแล้ง ในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์)

  

<<Back