กลุ่มเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส น่าน จ.น่าน (#5501)

ชื่อกลุ่ม : กลุ่มเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส น่าน 

มาตรฐานอินทรีย์ : PGS

Location : อ.ท่าวังผา จ.น่าน

ข้อมูลทั่วไป : เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มเกษตรกรสมาชิกโรงสีข้าวพระราชทานที่สนใจผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์ โดยการชักชวนและสนับสนุนจากอาจารย์ประจำสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเคมี 100 % ได้เริ่มปรับเปลี่ยนและเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งได้เกษตรกรที่มีใจจริงที่ผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานการรับรองแบบมีส่วนร่วม Lemon Farm Organic PGS  บนผืนนาที่ราบที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดน่าน ปัจจุบันได้ขยายฐานสมาชิกไปยัง อ.นาน้อย อ.เวียงสา และอ.เมือง ทำให้มีทั้งเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ มีใจรักในวิถีเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรุ่นเก่าที่มีความมุ่งมั่นในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างความยั่งยืนของพื้นที่ทำการเกษตร ให้ลูกหลานรุ่นปัจจุบันไม่ละทิ้งผืนดิน เห็นคุณค่าของผืนนาและเกิดความรักความหวงแหนพื้นที่อันเป็นมรดกของตนนี้สืบไป นับว่าเป็นการบูรณาการด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืนโดยแท้

  

ผลผลิต :  ผักสลัด เมล่อน แตงโม ข้าวก่ำดอย บัตเตอร์นัท บีทรูท แครอท มะเขือเทศ น้ำตาลอ้อย ไม้กวาดต้นก๋ง

 

 

ก่อนดำเนินงานปี 58 

  • เกษตรกรกลุ่มโรงสีข้าวพระราชทานส่วนหนึ่งเห็นปัญหาพื้นที่แปลงนาผืนใหญ่ถูกบุกรุกจากข้าวโพดเคมี รวมกลุ่มกันทำ นาข้าวอินทรีย์เพื่อรักษาพื้นที่นา ให้คงอยู่และเป็นแหล่งข้าวอินทรีย์ของคนในจังหวัด

  • สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการทำนาเคมีสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ สร้างโมเดลการเรียนรู้และเป็นทางเลือกอาชีพแทนการปลูกข้าวโพดเคมี มีสมาชิกจำนวน 13 ครอบครัว พื้นที่ 45 ไร่

ปี 2559

  • เลมอนฟาร์มร่วมกับสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ ได้ลงนามข้อตกลงการพัฒนาพื้นที่อินทรีย์ในจังหวัดน่าน โดยใช้กระบวนการเกษตรอินทรีย์ PGS และการตลาดที่เป็นธรรม

  • เกษตรกรสนใจเข้าร่วมกระบวนการจำนวน 17 ราย พื้นที่ 75 ไร่ ในพื้นที่ 3 อำเภอ

ปี 2560

  • สมาชิกจำนวน 60 ครอบครัว พื้นที่ 25 ไร่

  • เกษตรกรได้เรียนรู้และจัดการผลิตพืชอินทรีย์ เช่น การปลูกผัก ข้าว และทดลองปลูกถั่วเหลืองหลังนา

  • เริ่มเกิดผลผลิต ข้าวและผักอินทรีย์ส่งมาเลมอนฟาร์ม

ปัจจุบัน

  • เกิดการเผยแพร่ความรู้เกษตรอินทรีย์อย่างกว้างขวาง โดยมีสมาชิกใน 10 อำเภอ มารวมกลุ่ม

  • คนรุ่นใหม่คืนถิ่น กลับมาช่วยทำงานและร่วมพัฒนากลุ่ม เกิดผลผลิต 17ตัน/ปี (ผัก 6 ตัน/ปี, ผลไม้ 2 ตัน/ปี, ข้าว 6 ตัน/ปี, ธัญพืช 3 ตัน/ปี)

  • ร่วมกับศูนย์การเรียนรู้โจโก้ อ.ภูเพียง ทำพื้นที่ต้นแบบเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ จำนวน 15 ไร่ เพื่อนำไปขยายผลแก้ไขปัญหาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนที่สูง

<<Back