ลุงตัน น้องเบนซ์ และชาวบ้านห้วยหาด ทุ่มเทเลี้ยงอย่างทะนุทนอม ให้แม่ไก่เติบโตอย่า สมบูรณ์ดีที่สุด ได้กินอาหารอินทรีย์แท้ๆ ไปเสาะหาส่วนผสมวัตถุดิบที่คัดสรรจากแหล่งผลิต ในกระบวนการรับรองมาตรฐาน Lemon Farm Organic PGS น่าน มากถึง 60% ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ อย่าง ปลายข้าว รำ ข้าวโพด โดยผสมอาหารเองทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพ ปัจจุบัน ชุมชนยังคงเดินหน้าเพื่อจะสร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยมีไข่จากแม่ไก่สาว Organicเป็นตัวแทนของผลผลิต ที่มากคุณค่าและความตั้งใจของคนห้วยหาด-หลักลาย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนของคนในชุมชน ในการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน
Lemon Farm Organic PGS จ.น่าน ความตั้งใจของคนห้วยหาด-หลักลาย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน “จากไม้กวาดต้นก๋ง พิทักษ์ป่า สู่…ไข่ไก่ Organic คุณภาพ”
ในอดีตหมู่บ้านห้วยหาด บ้านหลักลายเป็นแหล่งทำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนดอยเหมือนที่อื่นๆ จนปี 2554 ชุมชนได้คุยกันว่า เลิกปลูกข้าวโพดเคมีและห้ามนำสารเคมีมาในหมู่บ้าน ด้วยสาเหตุที่ว่า การปลูกข้าวโพดเคมีที่ทำมาต่อเนื่องหลายสิบปี ทำให้ทุกคนในหมู่บ้านมีค่าสารเคมีตกค้างในเลือดระดับ 4 (อันตราย) แม่น้ำและอาหารในชุมชนมีสารเคมีตกค้าง ในป่าไม่มีอาหารไม่มีสัตว์ เก้ง หมูป่า กระรอก ปลาในแม่น้ำก็หายไป และเหตุผลสำคัญที่สุดคือ ชาวบ้านได้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเอง จึงได้รู้ว่าการทำข้าวโพดแต่ละปีเมื่อหักค่าปุ๋ยค่ายาแล้วมีเงินเหลือเพียง 200 บาท หลังจากชุมชนพร้อมใจกัน “หักดิบ” เลิกปลูกข้าวโพดเคมี ชุมชนพยายามหาทางที่จะอยู่ร่วมกับป่า อย่างยั่งยืน คืนป่าสามพันกว่าไร่ให้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านดูแลกันเอง ไม่เผา ไม่บุกรุกป่า มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงวัว ไก่ไข่ แต่ก็มีรายได้บ้างแต่ไม่มากนัก
เริ่มจากทำไม้กวาดต้นก๋ง พิทักษ์ป่า น้องเบนซ์ บัณฑิตจบใหม่วิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.พะเยา มุ่งมั่นที่จะทำเกษตรอินทรีย์ ในกระบวนการ Lemon Farm Organic PGS โดยมุ่งหวังที่จะเป็นตัวอย่างจุดประกายให้สมาชิกในชุมชนเพื่อสร้างชุมชนที่ยั่งยืนได้นำต้นก๋งที่เกิดขึ้นในป่ารอบๆ หมู่บ้านมาใช้ประโยชน์ทำเป็นไม้กวาด เพื่อเป็นรายได้เสริม เพื่อสืบทอดผืนดินที่สะอาดจากสารเคมี ไม่ต้องยอมจำนนเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพด และสร้างควันพิษ ส่งมาขายที่เลมอนฟาร์ม ในชื่อว่า “ไม้กวาดต้นก๋งพิทักษ์ป่าน่าน”