ในการเก็บเกี่ยวอ้อยมาผลิตน้ำตาลในหนึ่งปีจะผลิตในช่วงฤดูกาลเดียวที่เหมาะสมคือตั้งแต่เดือน มีนาคม – เมษายน ซึ่งจะมีค่าความหวานของน้ำตาลในอ้อยที่ทำให้ได้น้ำตาลคุณภาพรสชาติหวาน และหอมละมุน สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ ของชาวบ้านห้วยส้ม อ.นาน้อย จ.น่าน จากเดิมที่ชาวบ้านเคยปลูกอ้อยเคมีและประสบปัญหาภัยแล้งทำให้ต้นอ้อยไม่สมบูรณ์ ได้ปริมาณน้ำน้อย จึงมุ่งมั่นปรับเปลี่ยนมาปลูกอ้อยอินทรีย์ หยุดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ไม่เผาเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยว เพื่อลดสร้างปัญหาหมอกควันในพื้นที่ เพราะอยากอยู่ร่วมกับผืนป่าอย่างยั่งยืน

ความพิเศษของน้ำตาลอ้อยอินทรีย์ของกลุ่ม ใช้ภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น กรรมวิธีโบราณเคี่ยวแบบดั้งเดิมบนเตาถ่าน นาน 6 ชั่วโมง ไม่ใส่สารเติมแต่ง

ปัจจุบันน้ำตาลอ้อยอินทรีย์ เป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สร้างรายได้เสริม เลี้ยงชีพให้กับคนในชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีการสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ และเกิดการสร้างอาชีพให้กับลูกหลานที่มีความสนใจ ได้กลับมาต่อยอดพัฒนาน้ำตาลอ้อยให้เกิดคุณค่า จนสามารถขยายกลุ่มผู้ผลิตจากเดิมที่ทำกันเพียง3 ครอบครัว พื้นที่ผลิตอ้อย 6 ไร่ เพิ่มอีก 5 ครอบครัว มีพื้นที่ผลิตอ้อยเพิ่ม 8 ไร่ 1งาน รวมทั้งหมด 8 ครอบครัวพื้นที่ 14 ไร่ 1 งาน

<<BACK