กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตพืชคุณภาพท่าเมือง จ.อุบลราชธานี (#3402)

ชื่อกลุ่ม : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตพืชคุณภาพท่าเมือง 

มาตรฐานอินทรีย์ : PGS

Location : จ.อุบลราชธานี

ข้อมูลทั่วไป : ข้อมูลทั่วไปกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตพืชคุณภาพท่าเมืองเป็นกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ดอนมดแดงรวมตัวกันเพื่อการผลิตข้าวในรูปแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมี และเป็นการรักษาวิถีชีวิตของคนในชุมชน  ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด 16 ราย ที่มีความสนใจการทำเกษตรอินทรีย์ในวิถีพอเพียง ผลผลิตหลักคือข้าวกล้อง ข้าวฮาง และข้าวงอกต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผลผลิตผักและผลไม้ที่ผลิตในเกษตรอินทรีย์อีกหลายชนิดแต่ในปริมาณน้อย ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มปริมาณ เพื่อส่งมอบผลผลิตอินทรีย์ที่หลากหลายมาให้ผู้บริโภคผู้รักสุขภาพของเลมอนฟาร์ม คาดว่าอีกเร็วๆนี้ จะมีแก้วมังกรเกษตรอินทรีย์ ถั่วและธัญพืชอินทรีย์ที่ปลูกหลังฤดูกาลทำนา ส่งมายังเลมอนฟาร์มอย่างแน่นอน

  

ผลผลิต : ข้าวกาบา ข้าวกล้องงอก แก้วมังกร กล้วยน้ำว้า

 

พ.ศ.2548

พี่ภา ภาวดี สุพรรณสาย (ผู้นำกลุ่ม) ในวัยเด็กพี่ภาช่วยพ่อแม่ทำนา และได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับวิถีชีวิตของชาวนาที่ไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตเองได้ หลังได้รับการศึกษาและมีประสบการณ์การทำงาน จึงเลือกกลับภูมิลำเนาและทำเกษตรอินทรีย์ หวังพัฒนาอาชีพการทำนาให้เป็นอาชีพที่มั่นคงมีรายได้เลี้ยงครอบครัวและใช้ชีวิตในชนบท

พ.ศ.2549

จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เริ่มต้นงานพัฒนา
ด้วยความตั้งใจที่จะทำธุรกิจจากการทำนาจึงชักชวนเกษตรกรพี่น้องในหมู่บ้านจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน  เริ่มกิจกรรมการพัฒนาด้วยการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์  จากกรมส่งเสริมการเกษตร แต่เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรฐาน  ทำให้ยังไม่ผ่านการรับรอง ในปีนั้น

สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 
โดยการสนับสนุนของสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า ที่อุบลราชธานี   และได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล  และมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร  รวมทั้งการบริหารการจัดการกลุ่มเกษตรกรรายย่อยตามมาตรฐานสินค้าแฟร์เทรด

พ.ศ.2557

เข้าร่วม Lemonfarm Organic PGS มีพื้นที่ทั้งหมด 220.75 ไร่ สมาชิก  24 รายเลมอนฟาร์มลงพื้นที่ให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม  และได้รับความสนใจจากเกษตรกรสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 17 ครอบครัว หลังจากได้แลกเปลี่ยนกันและกันระหว่างทีมส่งเสริมและเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมั่นใจในกระบวนการและเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 7 ครอบครัว สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรหญิงใจสู้ มีผลผลิตหลัก คือ ข้าวหอมมะลิ 105

ปลูกพืชหลังนา สร้างรายได้ตลอดทั้งปี หลังจากทำกระบวนการกับทางเลมอนฟาร์มได้ประมาณ 1 ฤดูกาลผลิต เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจึงได้ชักชวนให้สมาชิกลองปลูกพืชหลังนาดู นอกจากจะช่วยบำรุงดินแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกตลอดทั้งปีด้วย

ไม่หยุดพัฒนา เพิ่มมูลค่าผลผลิต พี่ภา (ผู้นำกลุ่ม) ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมในการแปรรูปข้าวกล้องงอกเป็น ไอศกรีมและนำข้าวกล้องงอก เพื่อจะพัฒนาผลผลิตและสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม

ไอศกรีมข้าวงอกหอม

ศึกษาศักยภาพพื้นที่ เพิ่มผลผลิตหลากหลาย เราเรียนรู้การเก็บข้อมูล จนพบว่าในพื้นที่ของเรามีเม็ดมะม่วงหิมพานของสมาชิกหลายๆคนที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นเมล็ดมะม่วงหิมพานอบแห้งได้ เราจึงได้ไปศึกษาวิธีการกะเทาะและมีแผนการแปรรูปในปี 2561 นี้

เป็นที่ปรึกษากันและกัน สร้างกลุ่มเข้มแข็ง กลุ่มเราสร้างความเข้มแข็งโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในแนวทางการพัฒนา หากมีปัญหาก็ต้องหาทางออกร่วมกันและใช้มติที่ประชุมเป็นข้อตัดสิน  ช่วยกันเป็นที่ปรึกษาเพื่อทำความเข้าใจกับระบบการตรวจรับรอง การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์จากประสบการณ์ของแต่ละคน

ประสบการณ์ พร้อมแบ่งปัน เกษตรกรสมาชิกหลายครอบครัวเป็นตัวแทนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ของตนเองจากประสบการณ์ทำอินทรีย์ให้กับผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้  หรือกลุ่มเกษตรกรที่ทางภาครัฐพามาศึกษาดูงานอยู่เสมอ

ปัจจุบัน

ผลผลิตของกลุ่ม ได้แก่ ข้าวกล้องงอก, ข้าวหอมมะลิ 105, ข้าวเหนียวแดง, ข้าวมะลินิล, ถั่วเหลือง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, แก้วมังกรและแป้งข้าวต่างๆ

<<Back