กินอาหารอินทรีย์ ร่วมส่งต่อวิถียั่งยืน

การกินอาหารอินทรีย์เป็นหนึ่งในวิถีทางที่ดี เรียบง่าย สร้างภูมิต้านทาน สุขภาพดี และช่วยสร้างโลกสีเขียว ผ่านวิถีอาหารยั่งยืน เลมอนฟาร์ม ชวนผู้บริโภคมาร่วมกับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ แต่เกิดความยั่งยืนให้โลกใบนี้

ความยากจนและหนี้สินของเกษตรกรรายย่อย สร้างทุกขภาวะ

เกษตรกรกรรายย่อยในชนบท ไม่มีทางเลือกทางการเลี้ยงชีพ จึงจำเป็นต้องทำเกษตรเคมีเชิงเดี่ยวซึ่งมีตลาดรับซื้อ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย ฯลฯ แม้ขายได้ราคาต่ำ แต่พอมีรายได้เลี้ยงครอบครัวทำแล้วขาดทุน ใช้สารเคมีมาก เสียสุขภาพและเป็นหนี้ซ้ำซาก ความยากจนของครัวเรือนในภาคเกษตรในปีเพาะปลูก 2556/57 พบว่าครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย 88,402 บาทต่อคนต่อปี และครัวเรือนที่ยากจนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ มีรายได้เฉลี่ยต่ำสุดคือ 17,207 บาทต่อคนต่อปี (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557)

ตั้งแต่ปี 2557 เลมอนฟาร์ม ได้เริ่มงานพัฒนาอาหารอินทรีย์ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย โดยใช้มาตรฐาน Lemon Farm Organic PGS ที่นำหลักการอินทรีย์ PGS IFOAM มาใช้เป็นพื้นฐานพัฒนาคุณภาพอาหารอินทรีย์ กระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม Participatory Guarantee System (PGS) เป็นกระบวนการรับรองที่มาจาก IFOAM PGS ซึ่ง IFOAM (สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ) ได้พัฒนามาตรฐานและระบบการรับรองนี้ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานรับรองของรัฐและเอกชนได้

ปัจจุบันงานพัฒนาอาหารอินทรีย์ Lemon Farm Organic PGS มีกลุ่มเกษตรกรสมาชิก 10 กลุ่ม 7 จังหวัด มีสมาชิกเกษตรกร 353 ครอบครัว พื้นที่ 7,600 ไร่ มีผลผลิตเป็น ข้าว ธัญพืช ผัก ผลไม้ อาหารแปรรูป โดยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงาน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานภาคี เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในพื้นที่ ร่วมกันทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร ระบบการดำเนินงาน PGS ของเลมอนฟาร์ม ได้รับการยอมรับจากสำนักงานมาตรฐานอาหารและเกษตรแห่งชาติ (มกอช.) ในปี 2561 ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับ

ลุงทัย : กฤตอินต๊ะนาม กับแปลงผักอินทรีย์ในหุบเขาหัวโล้น และไร่ข้าวโพด (ฟักทองบัตเตอร์นัท, ฟักทองญี่ปุ่น)

อ่านเพิ่มเติม>>

Lemon Farm Organic PGS จ.น่าน ความตั้งใจของคนห้วยหาด-หลักลาย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน “จากไม้กวาดต้นก๋ง พิทักษ์ป่า สู่…ไข่ไก่ Organic คุณภาพ”

อ่านเพิ่มเติม>>

ในการเก็บเกี่ยวอ้อยมาผลิตน้ำตาลในหนึ่งปีจะผลิตในช่วงฤดูกาลเดียวที่เหมาะสมคือตั้งแต่เดือน มีนาคม – เมษายน ซึ่งจะมีค่าความหวานของน้ำตาลในอ้อยที่ทำให้ได้น้ำตาลคุณภาพรสชาติหวาน และหอมละมุน สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อยอินทรีย์

อ่านเพิ่มเติม>>

การรวมตัวกันของกลุ่มเกษตรกร Lemon Farm Organic PGS อุตรดิตถ์ ร่วมกับคณะผู้วิจัยอาจารย์ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์

อ่านเพิ่มเติม>>

<< Back